แม่แรง แม่แรงยกรถ แม่แรงตะเข้ แม่แรงกระปุก ข้อแนะนำในการเลือกใช้แม่แรงแต่ละประเภท

30650 จำนวนผู้เข้าชม  | 

แม่แรงยกรถ แม่แรงตะเข้ แม่แรงกระปุก เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการยกวัตถุที่มีน้ำหนักมากๆ มีหน้าที่ในการผ่อนเเรงให้กับผู้ใช้ในการยกรถยนต์ เพื่อสามารถทำงานได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น เพื่อทำการซ่อมแซมบำรุงส่วนต่างๆ ของรถยนต์ เช่น ล้อรถยนต์ ช่วงล่างของรถยนต์ เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง หรือใช้ในการตรวจตัวถังของรถยนต์

แม่แรงมี 2 ชนิด ได้แก่

     1. แม่แรงระบบกลไก เป็นระบบเฟือง หมุนเพื่อยกน้ำหนัก ความแข็งแรงสามารถพกพาได้ง่าย สามารถยกระดับของตัวรถได้สูงตามที่ความยาวของแกนถูกสร้างเอาไว้ เมื่อใช้งานต้องออกแรงมากสำหรับการยกน้ำหนัก และส่วนมากแม่แรงแบบกลไกจะมีขาเดียวทำให้ไม่ค่อยแข็งแรงเกิดอันตรายง่ายเมื่อใช้งานยกน้ำหนัก
แม่แรง แม่แรงยกรถ แม่แรงตะเข้ แม่แรงกระปุก ข้อแนะนำในการเลือกใช้แม่แรงแต่ละประเภท


     2. แม่แรงระบบไฮดรอลิก ใช้น้ำมันไฮดรอลิกช่วยขับแรงดันลูกสูบ สามารถยกน้ำหนักได้เยอะแม้จะมีขนาดตัวไม่ใหญ่มาก มีหลายชนิดแต่ละชนิดก็มีการใช้งานที่ต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับว่าจะเอาไปใช้งานประเภทไหน เช่น แม่แรงกระปุกเป็นแม่แรงยกขนาดเล็กที่ใช้ยกวัตถุที่ไม่หนักเกินไป และใช้ยกในช่วงเวลาสั้นๆ เหมาะสำหรับยกยานพาหนะ งานซ่อม งานก่อสร้าง และงานอุตสาหกรรมทั่วไป สกรูส่วนหัวสามารถปรับระดับเพิ่มความสูงได้ และแม่แรงตะเข้เป็นแม่แรงยกรถที่ทำงานระบบไฮดรอลิก จะใช้ยกส่วนหน้า ส่วนหลัง และด้านข้างของรถยนต์ ซึ่งแม่แรงตะเข้จะมีขนาดต่างๆ เช่น

     แม่แรงตะเข้ 3 ตัน เหมาะสำหรับยกรถยนต์ทั่วไป ใช้ในการยกรถเพื่อเปลี่ยนยางอะไหล่หรือซ่อมแซมช่วงล่าง และควรใช้งานควบคู่กับขาตั้งรถยนต์

แม่แรง แม่แรงยกรถ แม่แรงตะเข้ แม่แรงกระปุก ข้อแนะนำในการเลือกใช้แม่แรงแต่ละประเภท

     แม่แรงตะเข้ สำหรับรถโหลดต่ำ เหมาะสำหรับยกรถยนต์ที่โหลดต่ำ เพื่อเปลี่ยนยางอะไหล่หรือซ่อมแซมช่วงล่าง และควรใช้ควบคู่กับขาตั้งรถยนต์ รองรับน้ำหนัก 2 ตัน



     แม่แรงตะเข้ 5 ตัน 10 ตัน และ 20 ตัน เหมาะสำหรับยกรถสิบล้อ รถพ่วง เพื่อเปลี่ยนยางอะไหล่หรือซ่อมแซมช่วงล่าง และควรใช้ควบคู่กับขาตั้งรถยนต์

     การเลือกใช้แม่แรงจะต้องเลือกตามประเภทของรถที่จะใช้ยกว่าจุดที่จะยกนั้นสูง–ต่ำแค่ไหน ควรเลือกใช้แม่แรงที่สามารถรับน้ำหนักเยอะกว่ารถหรือสินค้าที่จะยกจะทำให้เบาแรงผู้ใช้ขณะการใช้งาน นอกจากจะตรงต่อความต้องการยังประหยัดและปลอดภัย หลังใช้งานเสร็จควรตรวจเช็คทำความสะอาดบำรุงรักษาส่วนต่างๆ ของแม่แรง

     กรณีแม่แรงยกไม่ขึ้นไหลลงแต่ไม่รั่วซึม อาจเกิดจากใช้งานที่หนักทำให้ลูกปืนภายในรังวาล์วเคลื่อนผิดตำแหน่งแก้ไขโดยการไล่ลม

     ข้อควรระวังขณะใช้แม่แรง คือ อุปกรณ์ที่นำมาหนุนที่ล้อป้องกันรถไหล หรือนำมารองด้านใต้พื้นของแม่แรง เพื่อป้องกันการทรุดตัวของแม่แรงนั้น ไม่ควรเป็นอุปกรณ์ที่แตกหักง่าย เช่น  อิฐบล็อก อิฐแดง หรือหินปูน เป็นต้น

สินค้าที่เกี่ยวข้อง

แม่แรงกระปุกแม่แรงกระปุก

แม่แรง 3 ตัน STARWAYแม่แรง 3 ตัน STARWAY

แม่แรง 2 ตัน BERALAแม่แรง 2 ตัน BERALA

 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้