439698 จำนวนผู้เข้าชม |
ไฟฟ้าเป็นสิ่งจำเป็นที่ทุกบ้านต้องมี ต้องใช้ในชีวิตประจำวัน อุปกรณ์ที่ช่างไฟฟ้าจำเป็นต้องมีติดตัวเป็นประจำ เผื่อเกิดปัญหาเกี่ยวกับไฟฟ้า เพื่อสนองความต้องการของมนุษย์ในการดำรงชีวิตประจำวัน เครื่องมือช่างไฟฟ้าเบื้องต้นที่จะอำนวยความสะดวกแก่ช่างไฟฟ้าในการทำงานต่าง ๆ ให้สะดวก รวดเร็ว และสวยงาม ซึ่ง 10 อุปกรณ์เครื่องมือช่างไฟฟ้ามีที่จำเป็นต้องใช้ ดังนี้
1. ไขควงและไขควงวัดไฟ เป็นเครื่องมือที่จำเป็นสำหรับช่างไฟใช้ในการขันสกรู ต่อฟิวส์ ใส่สวิตซ์ ถอนตะปูเกลียวออกจากที่ยึด ส่วนไขควงวัดไฟใช้ในการตรวจเช็คกระแสไฟ โดยไขควงมีด้วยกัน 2 แบบ คือ
- ไขควงปากแบน ใช้ขันสกรูที่มีลักษณะของร่องหัวสกรูตามแนวขวาง
- ไขควงปากแฉก ใช้ขันสกรูที่มีลักษณะของร่องหัวสกรูเป็นรูปสี่แฉก
ข้อแนะนำการใช้ไขควง
- ไม่ควรใช้ไขควงแทนสกัดหรือค้อน
- ใช้ไขควงที่มีด้ามเป็นฉนวนในงานช่างไฟฟ้า
- ควรเลือกใช้ไขควงที่มีปากลักษณะเดียวกับหัวสกรู
2. คีม เป็นเครื่องมือช่างไฟฟ้าที่ใช้สำหรับในการดัดงอ จับ ตัด ปอกสายไฟ ซึ่งด้ามของคีมจะต้องมีฉนวนหุ้มเพื่อป้องกันไฟดูดสำหรับผู้ใช้ คีมที่ใช้สำหรับการเดินสายไฟมี 4 ชนิด คือ คีมปอกสาย คีมปากจระเข้ คีมปากจิ้งจก และคีมย้ำหัว
ข้อแนะนำการใช้คีม
- ไม่ใช้คีมขันสกรูหรือเกลียว เพราะจะทำให้ปากคีมเยิน ควรใช้ให้เหมาะกับงาน
- ก่อนใช้ตรวจฉนวนหุ้มให้เรียบร้อย ถ้าชำรุดห้ามใช้
3. ค้อน เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการตอกตะปูในการเดินสายไฟ ซึ่งต้องเป็นค้อนหน้าแข็งที่ทำด้วยเหล็กด้านหน้าเรียบหรือค้อนหงอน ซึ่งมีหลายขนาดตามน้ำหนักของหัวค้อน ต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมกับผู้ใช้
ข้อแนะนำการใช้ค้อน
- ห้ามใช้ค้อนที่ชำรุด
- อย่าใช้ค้อนงัดจนเกินกำลังอาจทำให้ด้ามค้อนหักได้
4. สว่าน เป็นเครื่องมือที่ใช้ในงานเจาะรูขนาดต่างๆ ในการเดินสายไฟเพื่อยึดอุปกรณ์ไฟฟ้า สว่านมือด้ามเหล็กและสว่านไฟฟ้าซึ่งใช้เจาะได้ทั้งไม้และผนังปูนควรเลือกใช้ให้เหมาะสมกับงาน
ข้อแนะนำการใช้สว่าน
- ขณะเจาะต้องตั้งดอกสว่านให้ตั้งฉากกับชิ้นงาน
- ถ้าต้องการเจาะรูโต ควรใช้ดอกสว่านเล็กนำก่อน
- หากชิ้นงานที่เจาะเป็นไม้ ก่อนเจาะทะลุควรกลับไม้เจาะด้านตรงข้ามเพื่อป้องกันไม่ให้แตก
5. เลื่อยมือ เลื่อยที่ใช้สำหรับงานช่างไฟฟ้า คือเลื่อยปากไม้หรือเลื่อยรอปากไม้ เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า สันด้านบนเป็นเหล็กหนา มีฟันเลื่อยละเอียด ใช้สำหรับตัดปากไม้ในการเข้าไม้ต่างๆ
ข้อแนะนำการใช้เลื่อย
- อย่าปล่อยให้ใบเลื่อยเปียกน้ำ ควรเก็บไว้ในที่แห้ง
- อย่าวางเลื่อยให้ถูกแดดร้อนจัด
6. สิ่ว เป็นเครื่องมือที่ใช้ในงานไม้ในการเซาะร่องต่างๆ เพื่อให้สายไฟฟ้ารอดผ่านได้
ข้อแนะนำการใช้สิ่ว
- ก่อนใช้สิ่วสกัด ควรตรวจสอบให้แน่ใจก่อนว่า ไม่มีนอต ตะปู สกรูหรือสิ่งอื่น
- สิ่วต้องมีความคม
- เมื่อสิ่วมีการชำรุดหรือหัก งอ บิ่น ควรเปลี่ยนทันที ไม่ควรนำมาใช้
7. เครื่องมือวัดระยะ เป็นเครื่องวัดไฟฟ้าที่ใช้ในการวัดระยะชิ้นงานต่างๆ ซึ่งตอนนี้เครื่องมือวัดระยะมีทั้งแบบที่ทำด้วยโลหะ เช่น ตลับเมตร และอีกแบบคือเครื่องวัดไฟฟ้า เช่น มัลติมิเตอร์ ที่สามารถใช้วัดโวลต์ แอมแปร์และโอห์มได้ เป็นต้น
ข้อแนะนำการใช้เครื่องมือวัดระยะ
- เลือกใช้เครื่องวัดให้ถูกกับชนิดของกระแสไฟฟ้า
- หลังใช้งานต้องเก็บรักษาให้ดี อย่าให้ตกหรือกระทบกระเทือนมาก ๆ อาจชำรุดหรือเกิดความเสียหาย
8. เต้าตีเส้น ใช้ในการตีเส้นตรงในแนวนอนหรือแนวดิ่งใช้ในการเดินสายไฟฟ้า
ข้อแนะนำการใช้เต้าตีเส้น
- เมื่อต้องการใช้งานให้เทผงสีฝุ่นลงในกล่อง (อาจใส่น้ำเล็กน้อย หรือไม่ใส่ก็ได้) เขย่าเพื่อให้ผงสีคลุกกับเชือกให้ทั่ว
9. มีด ใช้ในการปอกฉนวน ตัด ปอก ขูดหรือทำความสะอาดสายไฟ ใช้มากในการเดินสายไฟฟ้า
ข้อแนะนำการใช้มีด
- การปอกสายไฟควรตะแคงมีดทำมุม 45 องศา กับสายไฟลักษณะเดียวกับการเหลาดินสอ อย่ากดใบมีดลึกจนเกินไป เพราะใบมีอาจตัดถูกลวดทองแดงภายในขาด
10. หัวแร้ง ใช้ในการบัดกรีเพื่อเชื่อมหรือประสาน มีอยู่ 2 ชนิดคือ หัวแร้งเผาด้วยถ่าน และหัวแร้งไฟฟ้า หัวแร้งไฟฟ้าเหมาะที่จะใช้กับงานเดินสายไฟ และงานซ่อม งานประสานเล็กๆ น้อยๆ ที่ใช้ความร้อนไม่มากนัก
ข้อแนะนำการใช้หัวแร้ง
- อย่าให้หัวแร้งบัดกรีร้อนจัดเกินไป
- หัวแร้งเมื่อใช้แล้วต้องจุ่มน้ำกรดอย่างเจือจาง แล้วจึงเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย
สินค้าที่เกี่ยวข้อง
ไขควงลองไฟ ขนาด 7.1/2 นิ้ว TOTAL รุ่น THT291908 ( Voltage Tester )
ชุดไขควงทำไฟหัวแฉก หัวแบบ 7 ชิ้น Sibote
คีมชุด 3 แบบ Anton ขนาด 8นิ้ว AT3808B
ค้อนหงอนด้ามไม้ INDY HA18 ขนาด 21 มม.
สว่านไฟฟ้า 3/8 นิ้ว (3 หุน) MAKITA M6001
โครงเลื่อยเหล็ก SONIC No.55 KT ขนาด 10"-12"
AT INDY สิ่วด้ามไม้ 1 นิ้ว / 25 มม. TCC113
ดิจิตอลมัลติมิเตอร์ รุ่น DT9205A
เต้าสำหรับตีเส้น S-KIT